หลักสูตร ปริญญาตรี
การจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
BACHELOR OF ARTS PROGRAM IN MANAGEMENT OF CULTURAL HERITAGE AND CREATIVE INDUSTRIES (BMCI)

BMCI

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

BACHELOR OF ARTS PROGRAM IN MANAGEMENT OF CULTURAL HERITAGE AND CREATIVE INDUSTRIES

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
BACHELOR OF ARTS PROGRAM IN MANAGEMENT OF CULTURAL HERITAGE AND CREATIVE INDUSTRIES (BMCI)

แนะนำหลักสูตร

วัฒนธรรมมิได้หมายความตามตัวอักษรเพียงแค่สิ่งดีงามหรือความงอกงามในชีวิตมนุษย์ หากวัฒนธรรมในปัจจุบันมีความหมายที่กว้างและหลากหลาย และมิได้จำกัดอยู่เพียงมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสืบทอดจากประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ และชุมชนวัฒนธรรม เท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงวัฒนธรรมที่ต่อยอดไปเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร์และโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมดิจิทัล ก็ล้วนแต่ต้องอาศัยวัฒนธรรมในการสร้างเรื่องราวและเนื้อหาที่น่าสนใจ บุคคลที่สามารถจัดการงานมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ดี จึงต้องเป็นผู้ที่เข้าใจศาสตร์ในด้านการจัดการ ขณะเดียวกันก็ต้องตระหนักรู้ถึงคุณค่าของงานวัฒนธรรม ที่สามารถต่อยอดงานวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
การมองวัฒนธรรมในเชิงบริหารและจัดการจึงเป็นกระบวนการบูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยมุ่งหวังให้บุคลากรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งในมุมกว้าง และลุ่มลึก หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงถูกออกแบบให้เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ 2 ด้านหลัก คือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม และองค์ความรู้ด้านการจัดการ ด้วยเชื่อว่าบัณฑิตของหลักสูตรจะต้องมีองค์ความรู้ครบถ้วนทั้งสองด้าน จึงจะสามารถจบการศึกษา และพัฒนาไปเป็นผู้ดําเนินงานด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ดี อันจะธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกลุ่มคนที่มีทั้งความเหมือนและความต่างให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยยอมรับซึ่งความแตกต่างซึ่งกันและกัน ตอบสนองต่อพันธกิจด้านวัฒนธรรมในระดับนานาชาติอย่างองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือองค์การ UNESCO) ที่ว่าด้วยการส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม
Location จัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
Length เป็นหลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่องปริญญาโท หากไม่ประสงค์ต่อปริญญาโท สามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
Lively Curriculum หลักสูตรเน้นความทันสมัยบนพื้นฐานนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการกับการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อันนำไปสู่นิยามความสร้างสรรค์ในบริบทต่างๆ
Learning Activities สร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เช่น การศึกษานอกสถานที่ การวิเคราะห์กรณีศึกษา การอภิปรายกลุ่ม การจัดทำโครงการทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน การสร้างสรรค์สื่อ การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม
Leading to Global Communities เตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองโลก ด้วยการศึกษาภาษาอาเซียนและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างรอบด้าน

เส้นทางอาชีพในอนาคต

หน่วยงานที่บัณฑิต/มหาบัณฑิตสามารถทำงานได้ภายหลังสำเร็จการศึกษา

องค์กรระหว่างประเทศที่มีการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม
เช่น UNESCO, IUCN, Heritage Watch, World Heritage Center, World Bank, UNWTO


ผู้ผลิตสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อออนไลน์ และผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม 


บริษัทรับจัดงานอีเวนท์และการแสดงทางวัฒนธรรม

โรงละครและพื้นที่การแสดงทางวัฒนธรรม

ผู้ประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

ผู้ประกอบกิจการสตาร์ทอัพด้านวัฒนธรรม

หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สำนักงานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

โครงสร้างหลักสูตร

วิชาบังคับ

แนวคิดและทฤษฎีด้านมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

การบัญชีและการเงินเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม

โลกแห่งอารยธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม


แนวคิดทางมานุษยวิทยาเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม


หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น


หลักการตลาดเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม


การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม


สื่อและวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์


ทัศนวัฒนธรรมร่วมสมัย

กระบวนการสร้างสรรค์และการผลิตในอุตสาหกรรมสื่อ


นโยบายทางวัฒนธรรม


การจัดการความรู้และความคิดสร้างสรรค์


ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม


การจัดการโครงการทางวัฒนธรรม

การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่องานวัฒนธรรม

หลักการจัดการและการจัดการองค์การเพื่องานวัฒนธรรม

การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม


ภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม

การศึกษาเฉพาะเรื่อง 1


การศึกษาเฉพาะเรื่อง 2

กฎหมายและจริยธรรมในการจัดการทางวัฒนธรรม


การฝึกปฏิบัติงานด้านการจัดการทางวัฒนธรรม

การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

วิชาบังคับเลือก สามารถเลือกศึกษาวิชาภาษาและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียน อาทิ

กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม

กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย


กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมจีน 


โดยมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในประเทศเจ้าของภาษา

เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คลิกที่นี่ 

ค่าเล่าเรียน

ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรปริญญาตรี 3.5 ปี คือ 326,000 บาทต่อคน โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ค่าหน่วยกิตๆ ละ 1,500 บาท ค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามระเบียบ และค่าธรรมเนียมพิเศษของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 10,000 บาท (สำหรับนักศึกษาไทย) ยกเว้นภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ ค่าจัดทำเอกสารประกอบการสอนและตำรา

ชื่อหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
BACHELOR OF ARTS PROGRAM IN MANAGEMENT OF CULTURAL HERITAGE AND CREATIVE INDUSTRIES (BMCI)
https://www.citu.tu.ac.th/bmci/

แนะนำหลักสูตร

วัฒนธรรมมิได้หมายความตามตัวอักษรเพียงแค่สิ่งดีงามหรือความงอกงามในชีวิตมนุษย์ หากวัฒนธรรมในปัจจุบันมีความหมายที่กว้างและหลากหลาย และมิได้จำกัดอยู่เพียงมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสืบทอดจากประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ และชุมชนวัฒนธรรม เท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงวัฒนธรรมที่ต่อยอดไปเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร์และโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมดิจิทัล ก็ล้วนแต่ต้องอาศัยวัฒนธรรมในการสร้างเรื่องราวและเนื้อหาที่น่าสนใจ บุคคลที่สามารถจัดการงานมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ดี จึงต้องเป็นผู้ที่เข้าใจศาสตร์ในด้านการจัดการ ขณะเดียวกันก็ต้องตระหนักรู้ถึงคุณค่าของงานวัฒนธรรม ที่สามารถต่อยอดงานวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
การมองวัฒนธรรมในเชิงบริหารและจัดการจึงเป็นกระบวนการบูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยมุ่งหวังให้บุคลากรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งในมุมกว้าง และลุ่มลึก หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงถูกออกแบบให้เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ 2 ด้านหลัก คือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม และองค์ความรู้ด้านการจัดการ ด้วยเชื่อว่าบัณฑิตของหลักสูตรจะต้องมีองค์ความรู้ครบถ้วนทั้งสองด้าน จึงจะสามารถจบการศึกษา และพัฒนาไปเป็นผู้ดําเนินงานด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ดี อันจะธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกลุ่มคนที่มีทั้งความเหมือนและความต่างให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยยอมรับซึ่งความแตกต่างซึ่งกันและกัน ตอบสนองต่อพันธกิจด้านวัฒนธรรมในระดับนานาชาติอย่างองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือองค์การ UNESCO) ที่ว่าด้วยการส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม
Location จัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
Length เป็นหลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่องปริญญาโท หากไม่ประสงค์ต่อปริญญาโท สามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
Lively Curriculum หลักสูตรเน้นความทันสมัยบนพื้นฐานนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ บูรณาการกับการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อันนำไปสู่นิยามความสร้างสรรค์ในบริบทต่างๆ
Learning Activities สร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เช่น การศึกษานอกสถานที่ การวิเคราะห์กรณีศึกษา การอภิปรายกลุ่ม การจัดทำโครงการทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน การสร้างสรรค์สื่อ การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม
Leading to Global Communities เตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองโลก ด้วยการศึกษาภาษาอาเซียนและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างรอบด้าน

เส้นทางอาชีพในอนาคต

หน่วยงานที่บัณฑิต/มหาบัณฑิตสามารถทำงานได้ภายหลังสำเร็จการศึกษา

● องค์กรระหว่างประเทศที่มีการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม
เช่น UNESCO, IUCN, Heritage Watch, World Heritage Center, World Bank, UNWTO
● ผู้ผลิตสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อออนไลน์ และผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม
● บริษัทรับจัดงานอีเวนท์และการแสดงทางวัฒนธรรม
● โรงละครและพื้นที่การแสดงทางวัฒนธรรม
● ผู้ประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
● ผู้ประกอบกิจการสตาร์ทอัพด้านวัฒนธรรม
● หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สำนักงานด้านศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

โครงสร้างหลักสูตร

วิชาบังคับ

● แนวคิดและทฤษฎีด้านมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
● การบัญชีและการเงินเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม
● ประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม
● โลกแห่งอารยธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
● แนวคิดทางมานุษยวิทยาเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม
● หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
● หลักการตลาดเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม
● การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
● สื่อและวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์
● ทัศนวัฒนธรรมร่วมสมัย
● กระบวนการสร้างสรรค์และการผลิตในอุตสาหกรรมสื่อ
● นโยบายทางวัฒนธรรม
● การจัดการความรู้และความคิดสร้างสรรค์
● ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม
● การจัดการโครงการทางวัฒนธรรม
● การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่องานวัฒนธรรม
● หลักการจัดการและการจัดการองค์การเพื่องานวัฒนธรรม
● การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
● ภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการทางวัฒนธรรม
● การศึกษาเฉพาะเรื่อง 1
● การศึกษาเฉพาะเรื่อง 2
● กฎหมายและจริยธรรมในการจัดการทางวัฒนธรรม
● การฝึกปฏิบัติงานด้านการจัดการทางวัฒนธรรม
● การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

วิชาบังคับเลือก สามารถเลือกศึกษาวิชาภาษาและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียน อาทิ

● กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม
● กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย
● กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมจีน
โดยมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในประเทศเจ้าของภาษา

เงื่อนไขการสมัคร & ขั้นตอนการสมัคร

ติดตามข่าวสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี คลิกที่นี่ 

ค่าเล่าเรียน

ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรปริญญาตรี 3.5 ปี คือ 326,000 บาทต่อคน โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ค่าหน่วยกิตๆ ละ 1,500 บาท ค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามระเบียบ และค่าธรรมเนียมพิเศษของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 10,000 บาท (สำหรับนักศึกษาไทย) ยกเว้นภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ ค่าจัดทำเอกสารประกอบการสอนและตำรา

ติดต่อ

อาจารย์ กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร BMCI
  02 623 5055-8 ต่อ 4165
● รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
  02 623 5055-8 ต่อ 4155
● ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ อาจารย์ประจำหลักสูตร
  02 623 5055-8 ต่อ 4154
● ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.รัชนีกร แซ่วัง อาจารย์ประจำหลักสูตร
  02 623 5055-8 ต่อ 4156
● ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
  02 623 5055-8 ต่อ 4143
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตร
  02 623 5055-8 ต่อ 4166
อาจารย์ ดร.พิชชากานต์ ช่วงชัย อาจารย์ประจำหลักสูตร
  02 623 5055-8 ต่อ 4170

สถานที่ทำการ

วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4
เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

ข้อมูลหลักสูตร

ภาษาไทย  ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ชื่อย่อ: ศศ.บ. การจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ภาษาอังกฤษ  ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts Program in Management of Cultural Heritage and Creative Industries

ชื่อย่อ: B.A. (Management of Cultural Heritage and Creative Industries)

คณาจารย์ในหลักสูตร 
Nok-5-20230712
Asst.Prof. Kanjana Laochockchaikul, Ph.D.
ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาตรี BMCI
Ph.D. (Social Development Administration), National Institute of Development Administration (NIDA), 2024
kriangkraiupdate
Assoc.Prof. Kriengkrai Watanasawad, Ph.D.
รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI)
ปร.ด. (ภาษาศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549
veluree1
Asst.Prof. Veluree Metaveevinij, Ph.D.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI)
Ph.D. (Film Studies), University of London, UK, 2015
Ratchaneekorn20230818
Asst.Prof. Ratchaneekorn Sae-Wang, Ph.D.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI)
Ph.D. (Architectural Heritage Management and Tourism), Silpakorn University, 2013
อาจารย์ ดร.อดิพล
Asst.Prof. Adipon Euajarusphan, Ph.D.
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์ / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI)
Ph. D. (Communication Studies) Communication University of China, PR. China, 2018
อาจารย์ ระวีวรรณ
Asst.Prof. Raweewan Sap-in
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI)
M.A. (Multimedia Communications), Academy of Art University, U.S.A., 2011
840x885 pix อ พิชชากานต์
Phitchakan Chuangchai, Ph.D.
อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรีการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI)
Ph.D. (Creative Industries), University of Warwick, United Kingdom, 2020
Address:

วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารเอนกประสงค์ 3 ชั้น 1 และ 4 เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

Facebook:

@bmcitu

Youtube:

CITU Official